ย้อนกลับ

จากโปแลนด์ถึงไฮฟา โคลอสซัลเหล็กกล้าแห่งเมดิเตอร์เรเนียน

สะพานคอนเทนเนอร์ใหม่สำหรับท่าเรือไฮฟาเดินทางมาจากโปแลนด์ผ่านแฮมบูรก์โดยใช้เส้นทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน DACHSER Air & Sea Logistics ได้รับหน้าที่ในการขนส่งสะพานคอนเทนเนอร์ถอดประกอบแบบเรือสู่ฝั่ง โดยเรารวบรวมชิ้นส่วนมากมายนี้จากซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ทั่วทั้งยุโรป นี่เป็นโปรเจ็กต์ที่มีสัดส่วนใหญ่มหึมาเลยทีเดียว

มาถึงท่าเรือไฮฟา (รูปภาพ: ICL)
มาถึงท่าเรือไฮฟา (รูปภาพ: ICL)

เรือคอนเทนเนอร์และเรือบรรทุกน้ำมันอยู่ในชั้น Post-Panamax เรียกได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งมหาสมุทร โดยชื่อชั้นของเรือเหล่านี้มาจากขนาดที่ใหญ่มาก ๆ ของมัน ซึ่งยาวและกว้างมากจนเทียบเท่าช่องแคบปานามา อันเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก         

ฝั่งมหาสมุทรตะวันออกของเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ที่ท่าเรือเมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นเส้นทางที่เรือลำมหึมานี้มาเดินเรือมาได้ เรือ Post-Panamax ได้แล่นออกจากเทอร์มินัลคอนเทนเนอร์ HaCarmel ตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่เรือขนาดความยาวมากกว่า 350 เมตรสามารถเทียบท่าได้ ระดับน้ำที่ท่าเรือบรรทุกสินค้าของเทอร์มินัลนั้นลึกกว่า 15 เมตร และระดับน้ำที่เทอร์มินัลเรือบรรทุกน้ำมันอาจลึกถึง 10 เมตร เพื่อให้ท่าเทียบสามารถทำงานได้อย่างราบลื่น ทางท่าเรือจึงตัดสินใจยกระดับการทำงานไปอีกขั้นด้วยการสั่งซื้อสะพานคอนเทนเนอร์ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถึง 4 กล่องจากบริษัทในเบรเมิน ซึ่ง Kocks Ardelt Kranbau เป็นผู้นำในตลาดระดับโลกด้านเครนสนามขนาดใหญ่และผู้บุกเบิกในการพัฒนาเครนคอนเทนเนอร์ แม้เครนตัวก่อนหน้านี้ของทางท่าเรือจะสามารถทำงานกับเรือที่มีความสูง 7 ถึง 8 ชั้นได้ แต่เครนตัวใหม่นี้สามารถทำงานได้กับเรือสูง 11 ชั้น ซึ่งเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในด้านประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของท่าเรือ

ชิ้นส่วนจากทั่วทั้งยุโรป

ขนาดของเครนนั้นถือเป็นความท้าทายที่สำคัญของการขนส่ง “ชิ้นส่วนและส่วนประกอบจะต้องมาจากทั่วทั้งยุโรป และต้องขนส่งจากแฮมบูรก์” Hans-Ulrich Brüggemann ผู้จัดการโปรเจ็กต์การขนส่งทางทะเลที่ DACHSER Air & Sea Logistics ในโคโลญอธิบาย ส่วนประกอบด้านโครงสร้างที่เป็นเหล็กนั้นผลิตในโปแลนด์ รถบรรทุกคอนเทนเนอร์กว่า 26 คันเดินทางมาจากแอนต์เวิร์ป และชิ้นส่วนเครื่องจักรแต่ละชิ้นนั้นมาจากซัพพลายเออร์ทั่วทั้งยุโรป “การนำทุกอย่างมารวมกันและเตรียมกระบวนการต่าง ๆ ให้พร้อมคืองานที่ต้องทุ่มเทอย่างมาก” Brüggemann กล่าว “หากไม่มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรที่น่าไว้วางใจอย่าง ICL-Israel Cargo Logistics งานนี้ก็คงไม่สามารถสำเร็จได้ ตั้งแต่วันที่โปรเจ็กต์นี้เริ่มต้นขึ้น สายโทรศัพท์สำหรับติดต่อกันระหว่างทีม DACHSER ในโคโลญและไฮฟาโดยเฉพาะก็ไม่เคยว่างเลย จนกระทั่งตอนนี้”

“แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้โปรเจ็กต์นี้มีความน่าสนใจ เมื่อกระบวนการทุกอย่างถูกตระเตรียมไว้พร้อม เครนขนาดใหญ่ยักษ์ก็เหมือนเป็นแค่พัสดุทางทะเลชิ้นหนึ่ง”    

ชิ้นส่วนของเครนตัวแรกมาถึงเมืองไฮฟาในเดือนมีนาคม ส่วนตัวที่สองมาในเดือนมิถุนายน สำหรับชิ้นส่วนของเครนตัวที่สามและสี่คาดว่าจะมาถึงในเดือนกันยายนละพฤศจิกายนตามลำดับ Brüggemann และทีมโปรเจ็กต์การขนส่งทางทะเลได้รับคำขอนี้เกี่ยวกับโปรเจ็กต์งานการขนส่งผ่าน ICL เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 “สิ่งที่ท้าทายเป็นพิเศษคือขนาดที่ใหญ่มาก ๆ ของสะพานคอนเทนเนอร์” Brüggemann เล่า “แม้จะมาแบบแยกชิ้นส่วนแต่ชิ้นส่วนพวกนั้นก็ยังเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะขนส่งโดยใช้รถบรรทุกและเรือได้ ชิ้นส่วนบางชิ้นก็ยาวมากถึง 15 เมตร”

ขนคอนเทนเนอร์ใหญ่ยักษ์ (รูปภาพ: ICL)
ขนคอนเทนเนอร์ใหญ่ยักษ์ (รูปภาพ: ICL)

ประสบการณ์นั้นสำคัญ

“ตอนวางแผนโปรเจ็กต์การขนส่งคุณต้องคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง” Brüggemann กล่าว “เราจัดขบวนขนส่งให้มีความคุ้มค่าที่สุด ตั้งแต่การวางแผนเส้นทางที่มีความแม่นยำซึ่งต้องคำนึงถึงการปิดถนนด้วย ไปจนถึงการจัดการด้านภาษี” โชคดีที่ DACHSER Air & Sea Logistics มีทีมชำนาญการด้านโปรเจ็กต์โลจิสติกส์ที่สั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เป็นเวลากว่าหลายปีแล้วที่พวกเขาดูแลกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบและให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าทั่วโลกเกี่ยวกับมุมมองต่าง ๆ เช่นการวางแผนเส้นทางหรือการเลือกผู้ให้บริการขนส่ง         

เครนเดินทางจากโรงงานในโปแลนด์มาถึงที่แฮมบูรก์โดยใช้รถบรรทุก ซึ่งขนาดของชิ้นส่วนเพียงชิ้นเดียวก็บอกได้แล้วว่าควรบรรจุในคอนเทนเนอร์แบบปิดขนาด 40 ฟุตหรือในคอนเทนเนอร์แบบเปิดด้านบนขนาด 40 ฟุต ที่เรารู้จักกัน ส่วนประกอบที่เป็นเหล็กขนาดกว้างพิเศษขนส่งโดยใช้คอนเทนเนอร์แบบพื้นราบขนาด 40 ฟุตที่มีฝากั้นสองด้านแต่ไม่มีกำแพงด้านข้างหรือหลังคา ในขณะที่ชิ้นส่วนขนาดยาวพิเศษจะขนส่งโดยใช้แพลตฟอร์มขนาด 40 ฟุตที่ไม่มีทั้งกำแพงและหลังคา “นี่เป็นงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงทั้งในด้านการวางแผนและการทำงานจริง” Brüggemann กล่าว “แต่ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดีไม่มีติดขัด”          

ในไฮฟา ทีมประสานงานจาก ICL และ DACHSER ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ Amir Levy ผู้จัดการพาณิชย์การนำเข้าทางทะเลที่ ICL ทำหน้าที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคอนเทนเนอร์และแพลตฟอร์มได้ขนส่งไปยังไซต์การติดตั้งที่ท่าเรือโดยเร็วที่สุด ชิ้นส่วนโครงยกทั้งหมดนั้นนำเข้ามาจากโปแลนด์เพื่อใช้ยกเครนโดยเฉพาะ โดยจะส่งคืนโครงยกเมื่องานเสร็จสิ้นในปี 2022 ต้องขอขอบคุณอุปกรณ์ชิ้นนี้ที่ทำให้สามารถประกอบชิ้นส่วนสะพานคอนเทนเนอร์ได้อย่างรวดเร็วและพร้อมสำหรับงานที่เทอร์มินัล

“การขนส่งสะพานคอนเทนเนอร์ทั้งชิ้นพร้อมชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่รวบรวมมาจากทั่วทั้งยุโรปเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก” Brüggemann กล่าว “แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้โปรเจ็กต์นี้มีความน่าสนใจ เมื่อกระบวนการทุกอย่างถูกตระเตรียมไว้พร้อม เครนขนาดใหญ่ยักษ์ก็เหมือนเป็นแค่พัสดุทางทะเลชิ้นหนึ่ง” 

DACHSER ทั่วโลก
ติดต่อเรา
ติดต่อ Katrine Cheng