ย้อนกลับ

การขนส่งแบบรวบรวมระดับโลก: เมื่อทุกสิ่งที่เป็นคู่กันต่างก็มาด้วยกัน

โลกกำลังเปลี่ยนแปลง และเมื่อโลกเปลี่ยน ตลาดก็เปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงของอำนาจและความสนใจทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รวมกับห่วงโซ่อุปทานภายใต้ความเครียดที่มีอยู่เกือบตลอดเวลานั้นทำให้เราเห็นถึงความจำเป็นสำหรับแนวคิดใหม่ๆ สำหรับโลจิสติกส์แล้ว เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการผสานรวมที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ของโซลูชันโลจิสติกส์แบบสัญญารับเหมาและการขนส่งแบบครบวงจรระหว่างประเทศ

โลจิสติกส์คือสิ่งขับเคลื่อนการค้าโลก

เหมือนขัดแย้งกัน: โลกดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้คนและตลาดได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นทุกวัน แต่ในขณะเดียวกัน วิกฤต สงคราม รวมถึงอำนาจและความสนใจทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงก็ทำให้เกิดการจับกลุ่ม การกีดกัน และการปฏิเสธการค้าเสรีในระดับที่ไม่ได้เห็นมานาน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือเศรษฐกิจมีการจัดโครงสร้างใหม่ด้วยความถี่ที่มากขึ้นกว่าเดิม

และเศรษฐกิจที่ต่างกันก็กำลังเคลื่อนไหวด้วยความเร็วที่ต่างกันมาก เมื่อปี 2008 สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ทัดเทียมกัน แต่ในขณะนี้สหรัฐอเมริกามีตัวเลขของผลผลิตที่สูงกว่าถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคต การเติบโตในระดับโลกจะยังคงเกิดขึ้นนอกยุโรปเป็นส่วนใหญ่ จากการประมาณการโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศพบว่า ผลผลิตจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2040 และจะเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 ขณะนี้ 9 จาก 10 ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของโลกล้วนอยู่ในประเทศเอเชีย

เมื่อไม่นานมานี้สถาบัน McKinsey Global Institute ได้เผยแพร่งานวิจัย “ภูมิรัฐศาสตร์และเรขาคณิตของการค้าระหว่างประเทศ” ซึ่งศึกษาถึงพัฒนาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยตลาดได้วิเคราะห์ความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจต่างๆ ในขณะนี้ รวมถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยไม่คำนึงถึงระยะห่างทางภูมิศาสตร์จริงที่เกิดขึ้น ผู้เขียนงานวิจัยของ McKinsey ศึกษาถึงการนำ “เรขาคณิตของการค้าระหว่างประเทศ” มาวัดค่าใหม่และเห็นเส้นทางการปรับรูปแบบใหม่สองเส้นทาง เส้นทางแรกคือแนวโน้มต่อการค้าระหว่างประเทศที่เกิด “การทวนกระแสโลกาภิวัฒน์” ตัวอย่างของเหตุการณ์นี้คือการแยกกันระหว่าง 2 ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาษีศุลกากรที่ตั้งใจเพิ่มให้สูง บทลงโทษ การปิดกั้นการเข้าถึงตลาดซึ่งกันและกัน การแบ่งขั้วการวิจัยและพัฒนา และมาตรการแยกตัวอื่นๆ อีกมากมาย

การยืนหยัดอดทนผ่านการร่วมมือกัน

โดยรวมแล้วผู้เขียนงานวิจัยชื่นชอบเส้นทางที่สองมากกว่า ซึ่งเป็นการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้นและสามารถพิจารณาเพื่อตัดสินใจระหว่างศักยภาพในการร่วมมือและข้อควรระวังทางภูมิรัฐศาสตร์ แน่นอนว่าเส้นทางนี้ทำให้มีโอกาสได้รับผลประโยชน์มากมาย เช่น การยืนหยัดอดทนต่อการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานในประเภทต่างๆ รวมถึงโอกาสในการนำเสนอระบบการค้าและเศรษฐกิจที่ผสานรวมยิ่งขึ้น เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความเชื่อใจร่วมกันและการสื่อสารที่โปร่งใสและเปิดกว้าง งานวิจัยระบุไว้ว่า “โครงข่ายของการเชื่อมต่อทางการค้าที่กว้างขวางและหลากหลายนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไร้ซึ่งความร่วมมือ”

แล้วเวลาก็หมดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเศรษฐกิจในยุโรปที่อยู่ภายใต้ความกดดันอันเป็นผลเนื่องมาจากการพยากรณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมืดมนเมื่อไม่นานมานี้ “เมื่อเวลาผ่านไปมากกว่า 10 ปี ประมาณ 85-90 เปอร์เซ็นต์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะเกิดขึ้นนอกสหภาพยุโรป” กล่าวโดย Valdis Dombrovskis ซึ่งเป็นคณะกรรมมาธิการยุโรปเพื่อการค้าที่การประชุม Munich Security Conference เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 โดยที่เขากล่าวกระตุ้นอีกว่า “หากเราหวังจะรักษาการเติบโตและความเจริญเอาไว้ให้ได้ เราต้องห้ามปล่อยมือกัน”  

DACHSER_magazine_01_24_Cover_story PDF (0,99 MB)
DACHSER ทั่วโลก
ติดต่อเรา
ติดต่อ Ali Mahboob Digital Communications Manager Asia Pacific
+91 022 42328-247 mahboob.ali@dachser.com