ย้อนกลับ
ฉบับที่

สิงคโปร์: ฐานการขับเคลื่อนสู่เอเชีย

สิงคโปร์เป็นแหล่งโลจิสติกส์ที่คึกคักและมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบ และลักษณะความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองที่อยู่ตัวมายาวนาน ทำให้นครรัฐแห่งนี้เหมาะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นอันสมบูรณ์แบบสำหรับบริษัทนานาชาติในการพัฒนาธุรกิจในตลาดอันมั่งคั่งของเอเชียแปซิฟิก

ประทับใจในทุกทิศทาง: สิงคโปร์
ประทับใจในทุกทิศทาง: สิงคโปร์

สิงคโปร์เติบโตขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นที่อ่อนด้อย ในขณะที่ทุกวันนี้ ฉากหลังอันน่าประทับใจของสิงคโปร์คือ อาคารสูงระฟ้าที่ต่างทะยานเสียดฟ้า แต่เมื่อเวลากว่า 200 ปีมาแล้ว ที่แห่งนี้มีเพียงกระท่อมชาวประมง ที่แปลกตาอยู่เพียงเท่านั้น นับตั้งแต่นั้นมา มหานครที่ตั้งอยู่ที่บริเวณส่วนปลายสุดของคาบสมุทรมลายู ได้ผ่านการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เหตุผลข้อหนึ่งสำหรับคือเรื่องโลจิสติกส์ ในศตวรรษที่ 19 อ่าวลึกตามธรรมชาติแห่งนี้มีสภาวะที่ยอดเยี่ยมเหมาะสำหรับการจัดตั้งเป็นสถานที่ประกอบการค้าหลักของอังกฤษ

ปัจจุบัน ด้วยที่จอดเรือกว่า 1,000 ที่ และปั้นจั่นอีก 300 ตัว นับได้ว่าท่าเรือแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ไปเป็นจำนวน 36.6 ล้านตู้ ซึ่งมีการบรรจุสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี และเครื่องจักรกล ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว เดินทางมาจากจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ไม่เพียงเท่านี้ Port of Singapore Authority (PSA) ยังมีแผนการที่จะเพิ่มศักยภาพขึ้นอีก 40 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการย้ายและขยายขนาดท่าเรือ สำหรับขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 สถานีใหญ่สำหรับขนส่งสินค้า “Tuas” แห่งใหม่ จะผนวกรวมสถานีขนส่งทั้งหมดเข้าด้วยกัน และภายในปี พ.ศ. 2583 จะมีความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานได้ถึง 65 ล้านตู้ในแต่ละปี

สนามบินชางฮีสิงคโปร์ยังมีความสามารถที่ยอดเยี่ยมอีกด้วยเนื่องจากสามารถให้บริการได้ถึงประมาณ 80 สายการบินจากทั่วโลก ดังนั้น สิงคโปร์จึงมีการเชื่อมต่อกับเมืองถึง 400 แห่งในทั่วโลก ในปีที่ผ่านมา ผู้โดยสารเกือบ 66 ล้านคน และสินค้าน้ำหนักรวม 2.19 ล้านเมตริกตัน ได้เดินทางผ่านชางฮี มีการคาดการณ์ว่าจำนวนของผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นถึง 180 ล้านคนในแต่ละปี ภายในปี พ.ศ. 2578 และในขณะนี้ อาคารผู้โดยสารแห่งที่ห้ากำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเพื่อรองรับการหลั่งไหลนี้

ศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลยที่พบว่าธนาคารโลกมักจะจัดให้สิงคโปร์มีอันดับเกือบสูงสุดในดัชนีประสิทธิภาพ

โลจิสติกส์อยู่เสมอ บริษัทนานาชาติมากมายต่างมีสาขาอยู่ในนครรัฐแห่งนี้ ตามข้อมูลของหน่วยงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (Economic Development Board of Singapore - EDB) มีบริษัทระหว่างประเทศประมาณ 37,400 แห่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่นอกสิงคโปร์ รวมทั้งบริษัทข้ามชาติ 7,000 แห่ง และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ทำธุรกิจของเอเชียแปซิฟิกอยู่ภายนอกสิงคโปร์

“สิงคโปร์รวบรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นศูนย์รวมที่สมบูรณ์แบบ”

เศรษฐกิจของสิงคโปร์มุ่งเน้นอย่างหนักไปที่การผลิตสินค้าคุณภาพสูง รวมถึงสารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่ง และอะไหล่สำหรับเรือ นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคผลิตที่มีการเติบโต เช่น อุตสาหกรรมการบิน วิศวกรรมความเที่ยงตรง และชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งแพทย์ศาสตร์ เทคโนโลยีการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ จากการศึกษาวิจัยของธนาคารโลก พบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่เหมาะสำหรับการทำธุรกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่มีที่ใดจะจัดตั้งบริษัทได้สะดวกง่ายดายไปกว่านี้ กระบวนการของที่นี่มีความเกี่ยวข้องกับระบบราชการที่เข้มงวดน้อยกว่าและยังมีความพยายามในการบริหารจัดการต่ำกว่าที่อื่นๆ นี่เป็นข้อได้เปรียบที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง “สิงคโปร์รวบรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นศูนย์รวมที่สมบูรณ์แบบ วัฒนธรรมแบบเอเชียทั้งหมดล้วนแต่อยู่ใกล้แค่เอื้อม ซึ่งช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติการและกระบวนการต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น” Frank Stadus Frank Stadus, DACHSER’s Managing Director Air & Sea Logistics Singapore กล่าว

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา DACHSER Air & Sea Logistics ได้ลงทุนมหาศาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายระหว่างภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2554 ผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายนี้ ได้เปิดตัวองค์กรของประเทศตนเองในสิงคโปร์ เพื่อเป็นฐานเริ่มต้นในการเข้าสู่ทั้งภูมิภาคเศรษฐกิจของตะวันออกไกล

ด้วยทีมงาน DACHSER ที่ประกอบด้วยพนักงานจำนวน 54 คน สิงคโปร์สามารถมอบบริการขนส่งสินค้าทางอากาศ และทางทะเลให้แก่ลูกค้าทั่วโลกและยังนำเสนอบริการรับเหมางานโลจิสติกส์และบริการเพิ่มมูลค่าต่างๆ “การมีตัวตนอยู่ภายในสถานที่โดยตรงท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันไม่หยุดนิ่งเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญ จากที่นี่ เราสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าของเราเกี่ยวกับโครงการของพวกเขา และร่วมกันค้นหาโซลูชันที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของพวกเขา” Stadus กล่าว เขายังอธิบายต่ออีกว่า “เราเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าชาวเอเชีย เราทำงานร่วมกับพวกเขาเพื่อวางข้อกำหนดเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลายและวางแนวคิดในการดำเนินการที่เหมาะสม” เช่น ผลลัพธ์ที่ได้อย่างหนึ่งได้แก่ การนำเครือข่ายการขนส่งแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ตามปกติมาใช้กับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “เครือข่ายเหล่านี้ช่วยให้สามารถวางแผนในการดำเนินการจัดการสินค้าได้ ไม่ใช่แต่เฉพาะภายในเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่รวมถึงระหว่างยุโรปและเอเชียอีกด้วย” ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ชี้แจง บริการขนส่งภาคพื้นดินข้ามพรมแดนระหว่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ นับเป็นการวางรากฐานเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้งสามประเทศ

โดยรวมแล้ว อนาคตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของสิงค์โปร์มีความสดใสเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ได้วางแผนการลงทุนไว้แล้วจนถึงปี พ.ศ. 2578 และไกลกว่านั้น เนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เรื่องนี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อทั้งภูมิภาค งานกิจกรรมต่างๆ อาทิ งานแสดงสินค้า Industrial Transformation Asia-Pacific (ITAP) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นงาน Hannover Messe ในแบบเอเชีย สามารถสร้างผลกระทบที่กว้างไกลข้ามพรมแดนของสิงคโปร์ ด้วยการมีวิธีการของเยอรมนีเป็นแบบอย่าง ITAP จึงได้สร้างระบบนิเวศที่รวบรวมผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยี และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างเครือข่าย และพัฒนาโซลูชัน นับเป็นปีที่สองต่อเนื่องกันแล้วที่ DACHSER จะร่วมเป็นผู้ออกนิทรรศการในงานนี้

สิ่งหนึ่งที่จะได้รับความสนใจคือตัวขับเคลื่อนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับอนาคตของภาคส่วนโลจิสติกส์ ได้แก่ การปฏิวัติธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization) และเนื่องด้วยความเหมาะสม นครรัฐแห่งนี้จึงสามารถสร้างการเติบโตได้แบบตัวเลขสองหลักในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราคากำลังหันมาซื้อผลิตภัณฑ์เล็กๆ ที่มีราคาถูกกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางระบบออนไลน์

ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่จะเป็นผู้ใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มที่ จากการปฏิวัติธุรกิจด้วยระบบดิจิทัลและมองหาวิธีการที่คุ้มค่าการใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า การทดลองใช้งานโดรนกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ยานพาหนะที่มีการนำทางโดยอัตโนมัตินี้มีการใช้งานแล้วอยู่ในท่าเรือเดินทะเล และในไม่ช้านี้ เซนเซอร์ 3 มิติ และหุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยทำงานประกอบพาเลทขนส่งสินค้าทางอากาศที่สนามบินชางฮี งานต้นแบบที่ชื่อ “Aviation Challenge 2” ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้โดยดำเนินการในนามของการบินพลเรือนของสิงคโปร์

Frank Stadus, Managing Director Air & Sea Logistics Singapore, at DACHSER warehouse.
Frank Stadus, Managing Director Air & Sea Logistics Singapore, at DACHSER warehouse.

ณ ใจกลางของเมือง

DACHSER สิงคโปร์จะดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายตัวในภาคส่วนการขนส่งและคลังสินค้าอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันไม่หยุดนิ่งนี้ ตามการรายงานของ Stadus ในเดือนมีนาคม เขาและทีมงานได้ย้ายไปยังจูร่งอีสต์ ศูนย์กลางอันคึกคักและยังเป็นจุดหลอมรวม ของบรรดาธุรกิจที่มองการณ์ไกล เรื่องนี้นับเป็นอีกหลักชัยแห่งความก้าวหน้าสำหรับ DACHSER ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เรากำลังอยู่บนเส้นที่ผ่านการวางแผนมาอย่างดีเพื่อการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่องในประเทศอาเซียนซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ” Edoardo Podestá กล่าวเสริม เขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อทั้งภูมิภาค ในฐานะของ Managing Director Air & Sea Logistics Asia Pacific “สำนักงานใหญ่และทีมงานที่มีแรงจูงใจของเราคือรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของบริการต่างๆ ที่เรานำเสนอ สิ่งนี้ช่วยปูทางไปสู่การเติบโตในอนาคตของเรา” Podestá มั่นใจว่า “ความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญในสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจในปัจจุบัน ที่ DACHSER สิงคโปร์มีบางสิ่งที่สนับสนุนให้เราพรั่งพร้อมอย่างสมบูรณ์แบบ เรามอบโซลูชันด้านซัพพลายเชนระดับโลกอันแข็งแกร่งให้แก่ลูกค้าของเราในทั่วทั้งภูมิภาค”

K. Fink

Download DACHSER Magazine 03/19 PDF (7,27 MB)
DACHSER ทั่วโลก
ติดต่อเรา
ติดต่อ Katrine Cheng